วันพุธที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2560

การเป็นผู้เรียนรู้ตลอดเวลา ตลอดชีพ เรียนรู้จากข้อผิดพลาด
เรียนรู้จากลูกศิษย์ เรียนรู้จากเพื่อนร่วมงาน และเรียนรู้จากจิตใจที่บริสุทธิ์ของตัวเราเอง
.................................................................................................................................................
ยิ่งเป็นผู้ใหญ่ยิ่งถ่อมตน นั่นคือ คุณครูสุวัฒน์ อรรถกฤษณ์
..............................................................................................................................................
ในหลายๆครั้งการเรียนรู้ยิ่งกว่าการเรียนรู้ด้านวิชาการ ด้านวิชาขลุ่ยทั้งทางทฤษฏีและปฏิบัติแล้ว
การมีบุคคลิกภาพที่ดี  การมีความจริงใจ ใส่ใจและอ่อนน้อมถ่อมตนอยู่เสมอ  มีอัธยาศัยไมตรียิ้มแย้มแจ่มใส
ใส่ใจกันและกัน ถามไถ่สารทุกข์สุขดิบ และมีความสัมมาคาระวะ แก่ผู้ใหญ่ ผู้น้อยอยู่เสมอ
ทำให้ความน่าเลื่อมใส่ ศรัทธา ประจักษ์ชัดแจ้งโดดเด่น ใครเห็นใครก็รัก เป็นที่รักของทุกๆคนที่ได้เข้ามาสัมผัส
ในวิถีที่เป็นตัวตนของ ท่านครูสุวัฒน์
..........................................................................................................................................................
คุณครูจะพยายามสอนน้องๆเสมอ เวลานั่งเป่าขลุ่ยต้องนั่งให้สมาร์ท หลังตรง อกผาย ไหล่ผึ่ง ดูเด่น ให้มีความมั่นใจในตัวเอง
บุคคลิกการเป่าขลุ่ยที่ดี จะเสริมสร้างช่วยหนุนลมที่เป่าให้มีความไพเราะขึ้น  ช่วยให้นั่งนานๆได้ ลดความปวดเมื่อยของการนั่ง
นานๆ ไม่ปวดหลัง   ฉะนั้นเด็กๆน้องๆหนูที่เรียนกับคุณครูสุวัฒน์จะมีบุคคลิกที่ดีทุกคน มองปุ๊บทราบได้ทันทีเลยว่า มาจากสำนักไหน
บุคคลิกเป็นสิ่งที่ลอกเลียนแบบกันได้ และซึมซับเข้าในวิถีแห่งความเป็นนักขลุ่ยของเด็กๆอย่างไม่รู้ตัวผ
...........................................................................................................................................................
การเป่าขลุ่ยต้องเป่าให้ตรงจังหวะ เป่าช้า เป่าเร็ว ทำนองเพลง อารมณ์เพลง ต้องอยู่ในทางสายกลาง ไม่มากไปไม่น้อยไป  ใส่ลูกเล่นพอสมควร
บางครั้งน้องๆก็อยากใส่ลูกเล่นให้มากขึ้นเพราะตามการเรียนรู้ที่เก่งขึ้นก็จะมีทักษะการขลุ่ยที่ดีขึ้น อันนี้ต้องระวัง ต้องคุมจังหวะให้ดี มิฉะนั้นจะสู้คน
ที่เป่าธรรมดาๆแต่ตรงจังหวะไม่ได้ การประกวดประชันจะเสียคะแนนไปใช่เหตุ
.............................................................................................................................................................
การเป่าขลุ่ยระดับต้นนั้น จะเน้นด้านความทำความรู้จักกับขลุ่ยมากกว่าสิ่งไหน ว่าเครื่องเป่าชิ้นนี้เรียกว่าขลุ่ย ประกอบด้วยอะไรบ้างที่ประกอบกันเป็นขลุ่ย สักหนึ่งเลา
การใช้ลมมีกี่แบบ  ลมแบบไหนใช้ตอนไหน เสียงควง เสียงเลียน เสียงปริบปรอย สะบัดนั้นใช้เมื่อใด
ท่านั่ง บุคคลิกภาพ  การมีทัศนคติที่ดี การสร้างแรงจูงใจ   การสร้างรุ่นพี่ที่คอยช่วยเหลือเอื้ออาทรต่อรุ่นน้องเป็นต้น
..............................................................................................................................................................
หลังจากฝึกเริ่มต้นได้แล้ว การเป่าเพลงยากขึ้นตามลำดับชั้น สิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้เลย ว่าเด็กๆทุกคนต้องทำได้ ถึงจะสอนไปในทางเดียวกันและประสบความสำเร็จ
คือการควบคุมลมให้ยาวต่อเนื่องด้วยการหายใจที่ดี ที่เรียกว่า การระบายลม...คุณครูสุวัฒน์จะมีท่อแอร์ขนาดเล็ก ยาวประมาณ หนึ่งเมตร กับถังน้ำถึงถัง ให้น้องๆได้ฝึกฝนกัน
การฝึกฝนนั้นย่อมดี และมีโอกาสก้าวหน้ามาก เพียงแต่คิดไม่ลงมือทำก็ย่อมไร้ค่าและความหมาย
น้องๆบางท่านสองเดือนระบายลมได้ บางท่อน หนึ่งปี สองปี  ตามความพยายาม แต่ล้วนประสบความสำเร็จในการใช้ลมเบื้องต้นทุกคน
.................................................................................................................................................................
เพลงต่างๆนั้น เพลง คุณครูจะต่อเพลงให้เท่าเทียมกัน ทีละวรรค ทีละตอน สอนเทคนิคทั้งหมดพร้อมกันไปทีเดียว ยากง่ายก็ตามเนื้อหาของเพลง  แต่เพลงพื้นฐานส่วนใหญ่จะเน้นที่จังหวะและการใช้ลม
เทคนิคต่างๆต้องใช้ตามจังหวะและโอกาสให้เหมาะสม แต่ที่นิยมใช้มากในบทเพลงคือ ลมครั่นที่มักจะพบในการเป่าที่เป็นเอกลักษณ์ของคุณครูสุวัฒน์ คือการใช้ลมสั่นสะเทือนจากแก้ม จะทำให้อารมณ์เพลงไพเราะขึ้นอย่างอัศจรรย์ใจเลยทีเดียวเชียว
...........................................................................................................................................................