วันพฤหัสบดีที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

คุณลุงอุทิศ อิ่มบุปผา คือใคร............??? Who is Uncle Utis Imbubpha

ย้อนกลับไปมื่อสมัยราวปี ๒๕๔๕ การขลุ่ยของผมกับอิ่มบุปผาเริ่มต้นขึ้นนะบัดนั้น
เว็บไซด์ในสมัยนั้นที่เกี่ยวกับการดนตรีไทยต่างๆที่ค่อนข้างจะมีชื่อและเป็นที่นิยมเข้าไปพูดคุย ซักถามและปรึกษา ปัญหาต่างๆ นั้น มีอยู่ไม่กี่เว็บไซด์  ที่โด่งดัง ก็เว็บไทยคิด ดนตรีไทยดอทคอม และมิวสิกก้าเป็นต้น
เด็กคนหนึ่ง มีความสนใจขลุ่ย และอยากจะไปสัมผัสวิถีชีวิต การทำขลุ่ยด้วย จึงเข้าไปค้นหาข้อมูลจากเว็บไซด์กูเกิ้ล ผลปรากฏว่า บุคคลที่มีชื่อเสียงอยู่ในขณะนั้น มีสองท่าน คือ คุณลุงจรินทร์ กลิ่นบุปผา และคุณลงุอทุิศ อิ่มบุปผา  ซึ่่งมีชื่อเสียงมากในด้านการทำขลุ่ย แต่ความนิยมเปรียบเทียบกันแล้ว คุณลุงอุทิศ จะค่อนข้างมีคนชื่นชมมากกว่าเพื่อนอาจจะเป็นในขณะนั้นด้วยวัยชราการทำขลุ่ยของลุงจรินทร์จึงได้รับความนิยมน้อยลง  กระผมเลยตั้งใจเข้าไปบ้านคุรลุงอุทิศ อิ่มบุปผาในทันที ณ เช้าวันหนึ่ง ซึ่งวิชาการเป่าขลุ่ยในขณะนั้นยังไม่เป็นเพลงด้วยซ้ำไป แต่ในใจของกระผมคิดว่า........เสียงที่ผมเป่าช่างไพเราะมากมายนัก   ได้พบคุณลุงอุทิศครั้งแรก ผมนี่ตัวเกร็งเลย เนื่องจากสมัยนั้นกระผมไม่ค่อยได้ไปพบป่ะเจอะเจอผู้คน หรือไปสถานที่ใหม่ๆ เท่าไหร่นัก จึงทำให้รู้สึกว่า ตื่นเต้นมาก ผมนี่ตัวเกร็งเชียว ดูภายนอกท่านนั้นเป็นคนดุ มีความเป็นศิลปินสูง มีความมั่นใจเด็ดเดี่ยว และมีความศรัทธาแรงกล้าในการทำขลุ่ยมากๆอย่างที่ใครก็ไม่สามารถจะบอกได้ ต้องสัมผัสด้วยตัวเองครับผม.....คุณลุงอุทิศ อิ่มบุปผา นั้นก็ได้เมตตาเข้าไปเลือกขลุ่ย ให้หนึ่งเลา.......... ราคา ๕๐ บาท เป็นขลุ่ยพลาสติกลายไม้ นับว่าเป็นจุดกำเนิดแห่งการสร้างนักเป่า นักสะสมและนักศรัทธาแห่งเสียงดนตรีประเภทขลุ่ย ขึ้นอีกหนึ่งนั่นคือตัวผมเอง........(จากข้อมูลในไทยคิดส์ น้องผู้หญิงคนหนึ่ง ได้เข้ามาเยี่ยมที่บ้านคุณลุงอุทิศ และได้ขลุ่ยพลาสติกลายไม้ ไปเป่าฟรี หนึ่งเลา กระผมก็แอบมีลุ้นอยู่นิดๆ ) ฮาาาา

จากนั้นเป็นต้นมา ก็ได้ไปเยี่ยมเยียนท่านอยู่เสมอๆ ครั้งแรกที่ผ่าตัดลำใส้ เนื่องจากเป็นโรคกระเพาะในขั้นร้ายแรง เนื่องจากการใช้ชีวิตที่บุกผ่าฝ่าดงในถิ่นแดนต่างๆ และการมีชีวิตที่มั่นใจ การดื่มแอลกอฮอล์ก็เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ ก็เลยทำให้เป็นแผลที่กระเพาะ  จากนั้นเป็นต้นมา การแอลกอฮอล์ต่างๆ ท่านก็เลิก ละ ได้จนถึงปัจจุบัน

อัธยาศรัยการพูดคุยของคุณลุงอุทิศนั้น จะเป็นกันเอง มีความภูมิใจมาก สายตาเปล่งประกายด้วยพลังแห่งการต่อสู้หยัดยืนด้วยสองเท้า ถึงแม้ว่าผู้เป็นบิดา จะได้จากไปก่อนวัยอันควร เนื่องจากพิษสงครามโลกครั้งที่สอง จากการเป็นลูกสถาปนิก ที่มีชื่อ ผู้คนในละแวกบ้าน ย่านใกล้เคียงต่างเรียกคุณลุงว่า "คุณ" ซึ่งชื่อเล่นท่านนั้น มีชื่อเล่นว่า "อึ่ง"  ผู้คนก็ต่างเรียกว่า "คุณอึ่งบ้าง" คุณหนูอึ่งบ้าง  การเป็นลูกผู้มีอันจะกิน หรือร่ำรวยมีฐานะนั้น จากที่เคยเรียกอย่างเพราะๆ ก็เรียก อึ่งบ้าง ไอ้อึ่งบ้าง ตามฐานะเท่าเทียมกันไปโดยปริยายของลักษณะสังคมชาวบ้านเฉกเช่นเดียวกัน เท่าๆกัน

จากพิษสงครามโลกครั้งที่สองผ่านไป ก็ได้ทำให้สูญเสียบิดา ผู้เป็นเสาหลักของบ้านไป  เหลือเพียงมารดา และคุณลุงสองคน ที่ต้องต่อสู้ ฟันฝ่าอุปสรรคนานัปการ  ด้วยความรู้ที่ติดตัวมาของคุณย่าถาน หรือมารดาของคุณลุงอทุิศนั้น มีวิชาการช่างทำขลุ่ยติดตัวมา จึงทำให้พอมีรายได้มาจุนเจือครอบครัวได้บ้าง จากการหาบขลุ่ยไปจำหน่าย ตามงานวัด งานภูเขาทอง และงานประจำปีแต่ละแห่ง ซึ่งขลุ่ยคุณย่าถานทำนั้น จะเป็นขลุ่ยที่เป่าเอาสนุก เป็นขลุ่ยที่ระลึกเป็นส่วนใหญ่

ด้วยความที่คุณลุงอุทิศ อิ่มบุปผานั้น มีวิชาที่ได้รับการสืบทอดจากผู้เป็นพ่อและแม่มาติดตัว อย่างไม่ต้องสงสัย นั้นคือ วิชาแห่งเชิงช่างต่างๆ..... วิชาต่างๆที่ท่านทำได้ดี และเป็นที่ชื่นชอบ ที่ท่านเล่าให้ฟังแล้ว น้ำเสียงจะคมชัด สดใส ด้วยสายตาที่เปล่งประกาย ผสมกับเสียงหัวเราะ เป็นระยะๆ นั่นคือ

ก่อนอาชีพทำทองก็ทำงานบริษัทขนส่งสินค้า???จำบริษัทไม่ได้(ติดไว้ก่อน)
อาชีพช่างทอง  อาชีพช่างซ่อมวิทยุโทรทัศน์     และสุดท้ายอาชีพการช่างทำขลุ่ย

การเดินทางแห่งอาชีพ การเดินทางแห่งความรัก และการสิ้นสุดจบลงที่อาชีพทำขลุ่ยนั้น ...สิ่งต่างๆที่ท่านสั่งสมด้วยประสบการณ์ สั่งสมด้วยการรู้จริงเห็นจริง และสัมผัสมาจริงๆนั้น ทำให้คุณลุงอุทิศนั้น เป็นคนที่มีความมั่นใจในตัวเองสูง มีลักษณะความเป็นผู้นำ และสิ่งหนึ่งที่ท่านเก่งมากไม่แพ้อาชีพต่างๆเลย นั่นก็คือการเป็นพิธีกรในงานต่างๆ พิธีกรการประกวดร้องเพลงลูกทุ่ง ซึ่งสมัยคุณชาย เมืองสิงห์ คุณเศรษฐา ศิระฉายา เป็นต้น แต่ละท่านนั้นยังเป็นเด็กตัวเล็กๆ อยู่เลย ยามใดที่ท่านได้ยินท่านเหล่านี้กล่าวถึงว่า เคยมาประกวดดนตรีที่วัดบางใส้ไก่และมีพิธีกรที่ชื่อคุณลุงอุทิศ อิ่มบุปผา นั้น ท่านจะภาคภูมิใจและยิ้มกว้างแทบจะไม่หุบเลยทีเดียว

การเดินทางแห่งเส้นทางขลุ่ยนั้น....การเดินทางบางครั้งคนเราก็ไม่ทราบจุดหมายของตนว่า พอถึงจุดหมายแล้วจะได้พบอะไร อาชีพต่างๆที่คุณลุงทำก็เช่นกัน ย่อมเปลี่ยนแปลงไปตามวิถีแห่งสังคม วิถีแห่งเศรษฐกิจด้วยเป็นต้น ก็นับว่าท่านก็เป็นนักวิเคราะห์เศรษฐกิจด้วยเช่นกัน.....

ซึ่งอาชีพทำทองที่ท่านทำนั้น     ราคาทองคำซึ่งเป็นวัตถุดิบนั้นราคาสูงขึ้นแทบจะทำเป็นรูปพรรณแล้วแทบจะไม่เหลือกำไรเลย ท่านก็เลยหยุดทำและยุคสมัยนั้นทีวี วิทยุ ซึ่งเป็นจอขาวดำ กำลังบูมและเป็นที่นิยมมาก ส่วนใหญ่กำลังการซื้อจะไม่ค่อยมี ท่านเลยศึกษาวิชาการซ่อมวิทยุโทรทัศน์ด้วยตัวเอง ไปรับวิทยุโทรทัศน์มือสองที่ชำรุดและขายต่อ นับว่าเป็นอาชีพที่สามารถสร้างกำไรได้งดงามเลยทีเดียวจนทำให้ท่านภูมิใจมากที่สุด ว่า...สามารถสร้างบ้าน อิ่มบุปผาได้เพราะการเป็นช่างซ่อมวิทยุโทรทัศน์นั่นเอง


เมื่อย่างเข้าสู่วัยกลางคนต่างๆ นั้น พอได้บ้านอิ่มบุปผาอยู่อาศัยให้ร่มเงา พักพิงเป็นหลักแล้ว ท่านก็เริ่มสืบทอดการช่างด้านขลุ่ยจากมารดา หรือย่าถาน   คุณลุงอุทิศเล่าว่า สมัยก่อนนั้น การทำขลุ่ยจะเสียงไม่ชัด และเสียงแหบปนเยอะ  เสียงแบบนี้คุณลุงคิดว่ายังไม่ถูกใจนักด้วยความที่ท่านก็เล่นสากลเป็นอยู่แล้ว นั่นคือการ เป่าหีบเพลงปาก หรือ ..(เรียกว่าอะไร)   ....ทำให้ท่านเข้าใจโน้ตเข้าใจหลักการแห่งดนตรี ว่าแต่ละคีย์ แต่ละชนิดของหีบเพลงปากเป็นเช่นไร จนทำให้มีความสามารถจนเข้าถึงการประกวดประชันและคว้ารางวัลได้ในหลายเวที  ยามใดที่ท่านว่างๆ ท่านก็เป่าให้ฟัง และน้ำเสียงก็เป็นที่อัศจรรย์ยิ่งนัก เพราะคนทั่วไปจะเป่าแบบตรงๆโน้ตตรงๆ แต่ท่านจะเป่าในจังหวะบลู หรือคันทรี่ มี่เป่าเป็นกลุ่มคอร์ดได้ มีจังหวะกำกับ และมีทำนองผสมกัน ทำให้ฟังแล้วเป็นเอกลักษณ์ที่น้อยคนนักในประเทศไทยจะทำได้เช่นนี้.....เสียงเจิดจ้า ทุกครั้งว่า ความสามารถในด้านดนตรีหีบเพลงปากโดดเด่น ยิ่งกว่าขลุ่ย เพราะท่านชอบในเสียงที่ชัดเจน แจ่มใส ใส่ลูกเล่นได้มากมาย

พอมาถึงการจับหรือลงมือทำขลุ่ยนั้น เสียงที่เคยแหบพร่าของขลุ่ยไผ่ ท่านก็ทำให้มีน้ำใสแจ่มชัดน่าฟัง ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของท่านเอง หรือท่านใดอยากได้แบบดั้งเดิม ท่านก็ทำกลับให้ได้เช่นกัน

ขลุ่ยไม้ไผ่...........นั่นคือเอกลักษณ์ที่โดดเด่นของคุณลุงอุทิศ อิ่มบุปผา เลยก็ว่าได้ เนื่องจากการทำขลุ่ยไม้ไผ่ แต่ละเลาได้นั้น บางครั้งต้องอาศัยเวลา ความปราณีต และความอดทนเป็นอย่างสูง  ไม่ว่าจะเป็นการคัดเลือกไผ่มาทำขลุ่ย การบ่มไผ่ไว้ให้ได้ตามระยะเวลาที่กำหนดเพื่อไม่ให้เสียงเพี้ยน การเก็บโดยไม่มีสารฆ่าแมลงใดๆทั้งสิ้น ฉะนั้นต้องต่อสู้ระหว่างปลวกและมอด  การทำเสียงจะต้อง มาขัดด้วยอิฐมอญผสมน้ำ ใส่กาบมะพร้าว ชัดให้มันวาว ด้วยวิธีแห่งภูมิปัญญาดั้งเดิม และการเหลาดากขลุ่ยนั้นจะต้องเหล่ามือ เพราะท่านไม่มีเครื่องกลึง การเหล่ามือนั้นทำให้ได้เสียงที่ดีดั่งใจนึกเพราะว่า ดากขลุ่ยไม้ไผ่ แต่ละเลานั้นจะกลม หรือ แบน หรือ ใหญ่เล็กไม่เท่ากันสักเลา จำเป็นต้อง เหลาด้วยมือ ขัดกระดาษทราย ตะไบเหลา จนขนาดพอดี ไม่แน่นจนเกินไป ถ้าแน่นเกินไป อากาศเปลี่ยนแปลงดากขลุ่ยมีการยืดขยาย และหด จะทำให้ไม้ไผ่แตกรานได้     การแต่งเสียง การคว้านรู การตอกลิ่มหยอดเทียนในขั้นตอนสุดท้าย ซึ่งสิ่งต่างๆเหล่านี้ การที่จะสร้างขลุ่ยไผ่แต่ละเลาได้นั้นจำเป็นต้องมีความวิริยะอุตสาหะและความอดทนเป็นอย่างสูง  จึงจะทำให้ได้ขลุ่ยไผ่ที่เสียงดีสักเลา   แต่ ราคาในสมัยนั้นขลุ่ยไผ่ ราคาไม่สูงมากนัก ความนิยมแห่งขลุ่ยกลึงจากไม้ ก็เข้ามาแทนที่ และมีความนิยมมากกว่าขลุ่ยไผ่  ขลุ่ยไผ่ นึงลดบทบาทลงแต่ไม่หายไป แต่นานๆจะทำไว้เพื่อเป็นที่่ระลึก เป็นของขวัญสำหรับคนที่คุณลุงรักและคิดถึงอยู่เสมอ แต่จะทำเพื่อผลิตเป็นธุรกิจจะน้อยลง    

 ขลุ่ยกลึงจากไม้ต่างๆ ..................
งาช้าง
งาช้างเลี่ยมทองหัวท้าย
ไม้งิ้วดำ
ไม้ชิงชัน
ไม้มะริด
ไม้พยุง
ไม้รัก
ไม้ประดู่(ลายเสือ)
ไม้แอฟริกันแบล็กวูด
ไม้เขียว
ไม้ม่วง
ไม้มะขามโปร่งฟ้า
เป็นต้น
.....................................เดี่ยวมาเพิ่มครับ.....ความคิดยังไม่ตกตะกอนครับ ฮาาา..........




2 ความคิดเห็น: