วันเสาร์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2557

Type of Thai flute (ชนิดของขลุ่ยไทย)


ชนิดของขลุ่ยไทย จำแนก ตามลักษณะ ของรูปร่าง และ น้ำเสียงได้ดังนี้

                             1. ขลุ่ยเพียงออ
                       2. ขลุ่ยหลีบ
                       3. ขลุ่ยอู้ 
                       4. ขลุ่ยรองออ
                       5. ขลุ่ยเคียงออ
                       6. ขลุ่ยกรวด
                       7. ขลุ่ยออร์แกน
                       8. ขลุ่ยนก
                       9. ขลุ่ยพล




ขลุ่ย เพียงออ ป็นขลุ่ยที่นิยมใช้กันมากที่สุด เพราะให้เสียงในระดับกลาง ไม่ ต่ำไป ไม่สูงไป นิยมใช้ในการเดี่ยวขลุ่ย ใช้ในวงผสมเครื่องสาย วงมโหรี และวงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์



ขลุ่ยหลิบ จะเป็นขลุ่ยขนาดเล็ก  มีเสียงสูงกว่าเพียงออ ๓ เสียง เป็นขลุ่ยเดียวที่น้ำเสียงของเขาดังทะลุแก้วหู ดังทะลุวง จึงจัดได้ว่าเป็นขลุ่ยที่เป็นลักษณะผู้นำวง นิยมใช้ในวงเครื่องสายเครื่องคู่ และวงมโหรีเครื่องใหญ่



ขลุ่ยอู้ เป็นขลุ่ยที่มีลักษณะใหญ่ที่สุด ต่ำกว่า เพียงออ สามเสียง  น้ำเสียงทุ้มต่ำ คล้ายเสียงเบส นิยมใช้ในวงปี่พาทย์ดึกดำบรรพย์ และวงมโหรีเครื่องใหญ่ ครับ


ขลุ่ยรองออ  เป็นขลุ่ยที่มีขนาดใหญ่กว่าเพียงออ เล็กน้อย จะให้โทนเสียงที่ ต่ำกว่า เพียงออ ๑ เสียงครับ (ปัจจุบัน ไม่ค่อยนิยม จึงหาได้ยาก แต่ช่างขลุ่ยที่เก่งๆก็สามารถจำทำให้ได้ครับ)



ขลุ่ยเคียงออ เป็นขลุ่ยที่มีเสียงสูงกว่า เพียงออ หนึ่งเสียง  ถ้าขลุ่ยเสียงสูง มักจะเป็นเลาที่มีขนาด เล็กกว่า ฉะนั้น ขลุ่ยเคียงออ จึงมีขนาดเล็กกว่า เพียงออ เล็กน้อย






ขลุ่ยกรวด เป็นขลุ่ย ขนาดเล็กกว่า เคียงออ น้ำเสียงจะเทียบใกล้เคียง ขลุ่ยคีย์ C เสียงสากล 



ขลุ่ยออร์แกน คือขลุ่ย ที่มีน้ำเสียงสากล และเล่นกับออร์แกนได้  เล่นกับเปียโนได้  เป็นเสียงที่ขลุ่ยไทย จะต้องทำขึ้นใหม่ ให้ตรงกับออร์แกนโดยเฉพาะเพราะออร์แกน จะมีเสียงสูงกว่า เสียงไทย ๑ เสียง


ขลุ่ย นก คือขลุ่ยที่ให้น้ำเสียงเลียนแบบเสียงนก ชนิดต่าง ๆที่มีอยู่ด้วยกัน ๔ เ สียง คือ เสียง นกกาเหว่า เสียงนกกางเขน เสียงนกโพระดก เสียงไก่ขัน เสียง  ขลุ่ย นก นิยมใช้ในเพลงตับภูมรินทร์ หรือตับแม่ศรีทรงเครื่อง หรือเรียกภาษาชาวบ้านว่า เพลงตับนก



ขลุ่ยพล คือ ขลุ่ยที่ระลึก ตามงานวัด สถานที่ท่องเที่ยวทั่วไป น้ำเสียงเป่าเล่นได้ แต่เข้ากับวงไม่ได้ เพราะไม่ได้เน้นเสียง เน้นเป็นที่ระลึกเสียมากกว่าครับผม

ขอขอบคุณ ภาพประกอบ จาก เฟสบุค น้องนัฐ เกษตร และ เสียงเพลงตับนก จากยูทูปครับผม  ขอขอบพระคุณมา ณ โอกาสนี้ครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น