วันศุกร์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2558

การทำขลุ่ย...ความรู้จากบ้านคุณลุงอุทิศ อิ่มบุปผา

ขอกราบประทานอภัย ถ้ามีสิ่งใดไม่ถูกต้องหรือผิดพลาด..จากที่ได้ชมด้วยตา ยังไม่ได้ลงมือกระทำเองเลยคับผม บันทึกนี่กระผมจดไว้เพื่อกันลืม เพราะอนาคตข้างหน้าอาจจะจำอะไรไม่ได้เลยครับผม งานทำขลุ่ย ถือว่า เป็นงาน แฮนเมด ที่มีทั้งองค์ความรู้ต่างๆมาเกี่ยวข้องมากมาย องค์ประกอบภายใน(ฝีมือ) และองค์ประกอบภายนอก(ที่ควบคุมไม่ได้)เช่นลมฟ้าอากาศ เนื่องจากขลุ่ย เป็นไม้ อุณหภูมิมีความเกี่ยวข้องกับขลุ่ยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะว่า บางเลาที่หนาวจัด อาจจะราวแตกร้าวได้เลย หรือร้อนจัด เทียนไขที่ละลาย อาจจะทำให้เสียงไม่แน่น เพราะมีลมรั่ว ไปได้หลายๆทาง การทำขลุ่ย จำเป็นที่จะต้องศึกษา เครื่องไม้เครื่องมือให้เข้าใจ ไม่ว่าจะเป็นความรู้เกี่ยวกับงานช่างไม้ การใช้เครื่องมือไฟฟ้า การพัฒนาเทคนิค ความเข้าใจในงาน และคอยฝึกฝน เลา ต่อ เลา ดากขลุ่ย มักจะมีความเฉพาะ กับเลาขลุ่ยแต่ละเลาก็ว่า ได้ หรือ ที่เรียกว่าเนื้อคู่นั่นเอง เครื่องไม้เครื่องมือ ในการทำขลุ่ย มีอะไรบ้าง สว่านนั่งแทน....ตัวเล็ก ตัวใหญ่ สว่านขัดหัวท้ายขลุ่ย มีด.....มีดแกะปากนกแก้ว มีดปาดดากขลุ่ย มีดคว้านรูขลุ่ย หลากหลายขนาดแตกต่างกันออกไป เลื่อย ขนาดเล็ก ไว้เลื่อย ไม้ เลื่อยดากขลุ่ย เหล็กกระทุ้งดากขลุ่ย เทียน ไฟ ที่วัดขนาด ขลุ่ย ขลุ่ยต่างๆทีทำในประเทศไทย มีหลายอย่าง เช่น ขลุ่ย ไม้ไผ่ ขลุ่ยไม้จริง -ไม้เนื้อแข้ง -ไม้เนื้ออ่อน ขลุ่ยงา ขลุ่ยหยก เป็นต้น สเกลเสียง การไล่เสกลเสียง การเจาะปากนกแก้ว การคว้านรู การขัดด้วยกระดาษทราย การปากดากขลุ่ย การซ่อมปากนกแก้ว... การซ่อมรูที่เจาะผิด ด้วยผงขี้เลื่อย แล้วเจาะใหม่ การเหลาดากขลุ่ยด้วยมือ(สำหรับขลุ่ยไม้ไผ่) การทำขลุ่ยให้ได้เสียงที่ดีนั้น....องค์ประกอบที่ช่างไม่ควรมองข้ามเลย นั่นคือ สิ่งเล็กๆที่ต้องคำนึงถึง เท่าที่กระผมพอจำได้ มีดังนี้ -ขนาดเลาขลุ่ย -ความเรียบร้อยของเลาขลุ่ย -ถ้าไม่เรียบร้อย ก็จำเป็นต้องมีการอุด ปะ ซ่อม ด้วยผงขี้เลื่อย กับกาว ร้อย พร้อมกับการขัดด้วยกระดาษทราย ให้เรียบร้อย มีความเรียบ ทั้งด้านในและด้านนอกเลาขลุ่ย -ช่องสี่เหลี่ยมปากนกแก้วนั้น ด้านในอย่าให้แหว่ง(เด็ดขาด) ทั้งหมดทั้งปวงนั้น...องค์ความรู้ที่มาเก ^^ว่าด้วยทฤษฏีการทำขลุ่ย^^ 30 พฤษภาคม 2013 เวลา 21:13 น. "ทฤษฎีการทำขลุ่ย" (จากการรับฟังพูดคุยจากคุณลุงอุทิศ อิ่มบุปผา แล้วมาบันทึกกันลืม อาจจำผิดบ้าง ถูกบ้าง หวังว่าให้อภัย และโปรดอย่าแสดงความคิดเห็นที่รุนแรง เพราะทุกชีวิตต้องการความอ่อนโยน) -หัวใจสำคัญของขลุ่ยอยู่ที่ ดากขลุ่ยกับปากนกแก้ว ปากนกแก้วไม่สวย องศาไม่ถูกต้อง อย่าหวังว่าขลุ่ยจะได้เสียงที่ไพเราะ -การคิดค้นทำคีย์แต่ละคีย์อย่างน้อย เป็นอาทิตย์ๆ ถึงจะสำเร็จ การคว้านรูขลุ่ยแต่ละคีย์ คว้าน มากคว้านน้อยต่างกัน..ถึงจะให้เสียงที่ต้องการ เล่นเข้ากับเครื่องดนตรีสากลได้ลงตัว -อ.โสภณ นุ่มละมุล ก็มาปรึกษาเรื่องขลุ่ย สม่ำเสมอในระยะเบื้องต้นของการทำขลุ่ย ว่าทำไมเสียงที่ได้ยังไม่ได้ตามที่ใจต้องการ ขนาดเปลี่ยนดากมาแล้ว สามถึงสี่หน เมื่อลุงอุทิศมาตรวจสอบเป่าดูก็รู้ในทันทีว่าเป็นเพราะบกพร่องตรงนี้ๆ ให้นำไปแก้ไขตามที่ลุงว่าก็จะได้ตามต้องการ ฉะนั้นการรู้ข้อบกพร่องต่างๆของขลุ่ย ก็เป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้ขลุ่ย อ.โสภณเป็นที่ถูกใจของผู้ที่ได้เป่า..นับได้ว่าคุณลุงอุทิศก็เป็นแรงสนับสนุนอีกแรงเช่นกัน -อ.ธนิสร์ ศรีกลิ่นดี ในสมัยที่บูมสุดๆ ในเวอร์ชั่น เมดอินไทยแลนด์ ก็ได้ขลุ่ยของคุณลุงไปบันทึกเทป และออกแสดงจนมีชื่อเสียง และได้ติดต่อสัมพันธ์กันมาตลอด จนกระทั่ง อ.ธนิสได้ไปก่อตั้งการทำขลุ่ยในรูปแบบของตัวเอง จึงห่างเหินกันไปบ้าง ตามหน้าที่ของตน (และมีสิ่งหนึ่งที่ให้คุณลุงอุทิศไว้เป็นที่ระลึกและใช้งานได้จนปัจจุบันคือ เครื่องเทียบเสียง) -ช่างอนุรักษ์ บางบาล ก็ได้มาเรียนรู้การทำขลุ่ยเพิ่มเติมจากคุณลุงเช่นกัน ด้วยเหตุผลที่ว่า"ทำขลุ่ยมาตั้งนาน ทำขลุ่ยยังไงก็ยังไม่เข้าใจว่าทำไมได้เสียงไม่ตรงตามใจชอบ" เมื่อได้มาร่ำเรียนกับคุณลุงอุทิศแล้ว ก็นำกลับมาแก้ไขในสิ่งที่บกพร่อง จากนั้นก็มีคำพูดจากปากของช่างว่า" ผมทำขลุ่ยจนส่งลูกจบปริญญา ยังหาขลุ่ยที่ถูกใจไม่ได้เลยเพิ่งเลานี้ เลาแรกเลย ที่เป็นเสียงที่ต้องการ ที่ค้นหามาตลอดชีวิต" .-ท่านั่ง ต้องนั่งราบกับพื้น ชันเข่าข้างหนึ่ง(แต่ละช่างก็มีลีลาต่างกัน ไม่มีท่าบังครับคร้าบ) (สำคัญ) -มือใหม่หัดทำขลุ่ย เสียงขลุ่ยที่ได้ในเบื้องต้น ต้องทำให้เสียงชัด ไม่มีลมแถม หรือที่เรียกว่า แหบ ฟู่ๆ การปาดดากต้องมีแหง่ง...เรียบๆรับรองไม่ดังแน่นอน (วันที่บันทึก 10 สิงหา 2012) ทฤษฏีการทำขลุ่ย(ต่อ) -อุปกรณ์เบื้องต้นในการทำขลุ่ย สว่านนั่งแท่น หินขัด มีดแบบต่างๆฯลฯ การปาดดากขลุ่ย(ดากขลุ่ย เหมือนไมค์ ยี่ห้อดีๆ ก็จะทำให้เสียงดี) การใส่ดากขลุ่ย (ถ้าไม้ไผ่ให้ใส่ดากที่หลวมนิสๆ มิฉะนั้นบังคับใส่ดากขลุ่ย ไม้ไผ่จะแตกรานแน่นอน) ปากทำปากนกแก้ว(ปากนกแก้วเหมือนลำโพง ถ้าลำโพงยี่ห้อดีๆ เสียงก็น่าฟัง) การเจาะรูบังคับเสียง(ทำให้ได้เสียงอยู่ในคีย์ต่างๆ เช่นคีย์ ซี คีย์ บีแฟลต) การคว้านรู และการขัดรู (ทำให้เสียงที่ใส และก้องกังวาล) ลมหนัก (เกิดจากการปาดดากขลุ่ย เพื่อให้ได้ลมที่ต้องการ ให้ลมที่เป่าว่าต้องเบาหรือหนักถึงจะเหมาะกับลมแต่ละคน และให้เสียงที่ต่อ เนื่อง)ลมเบา (ลมที่เป่าแค่เพียงเล็กน้อย ก็สามารถได้ยินเสียงที่ดังชัดเจน แต่ถ้าใช้ลมมากเกินไปจะเกิดเสียงวี๊ดดด เหมาะกับมือใหม่หัดเป่า) ความสวยงาม+ความละเอียดของงาน+คุณภาพของเสียง (เป็นขั้นตอนสุดท้ายที่ต้องพิจารณาก่อนนำไปใ้ช้งานต่อไป) บันทึกวันที่ 28 มิถุนายน 2012 ถูกใจ · · แชร์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น